1.ประวัติความเป็นมาที่สอดคล้องกับแนวคิด “ธุรกิจวิชาการ”
สำนักกฎหมาย เริ่มต้นจากกลุ่มงานนิติการซึ่งเป็นส่วนงานหนึ่งของกองบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานอธิการบดี เท่านั้น แต่เนื่องจากมหาวิทยาลัยได้ปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ทำให้ภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัยในด้านกฎหมายและงานนิติการมีมากมาย หลากหลาย โดยเมื่อคณะ สำนัก สถาบันและศูนย์การศึกษาในสังกัด ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีปัญหายุ่งยาก ซับซ้อน ในการปฏิบัติงาน ตลอดจนถึงการตีความ ระเบียบ กฎหมาย ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานของส่วนงานต่างๆ ไม่สามารถปฏิบัติหรือตัดสินใจดำเนินการได้ ก็จะส่งเรื่องหรือคำปรึกษาให้มหาวิทยาลัยพิจารณาหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายและระเบียบนั้นให้ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังเห็นว่างานบริหารบุคคล ในเรื่องเกี่ยวกับวินัย การอุทธรณ์ร้องทุกข์ และการให้ออกจากการเป็นบุคลากรควรจะแยกออกจากการบริหารงานบุคคลด้านอื่นด้วย เพราะการดำเนินการและปฏิบัติการ ดังกล่าวต้องใช้ตัวบทกฎหมายและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาดำเนินการ อีกทั้งเพื่อให้มีการพัฒนาระบบงาน ด้านกฎหมายอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับภารกิจด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภารกิจให้มีความเด่นชัดขึ้นและเพื่อให้บุคลากรและส่วนราชการได้รับความยุติธรรมและเที่ยงธรรม ตลอดจนการพัฒนางานพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายการศึกษาและกฎหมายมหาชน
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต โดยสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงยกฐานะกลุ่มงานนิติการเป็นกองกฎหมายตามมติการประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ครั้งที่ 6 17)/2549 และได้ประกาศไว้ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา
ต่อมามหาวิทยาลัยสวนดุสิตได้ยกเลิกกองกฎหมายและออกประกาศจัดตั้งเป็นสำนักกฎหมายตามประกาศมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2567เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 โดยมีสถานะเป็นหน่วยงานอิสระ มุ่งหวังให้ทำหน้าที่ด้านกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบของมหาวิทยาลัย ให้เป็นระบบ มีความยืนหยุ่นและคล่องตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ของสังคม รวมถึงให้การสนับสนุนกิจการของมหาวิทยาลัย และด้านธุรกิจวิชาการของมหาวิทยาลัยสามารถสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายต่างๆ ในสังคมยุคดิจิทัล
2.วัตถุประสงค์ของของการจัดตั้งสำนักกฎหมาย
- สนับสนุนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย : สำนักกฎหมายจะให้คำปรึกษาและสนับสนุนงานด้านกฎหมายในการพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการวิจัย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานการศึกษา
- สำนักกฎหมายจะมีบทบาทสำคัญในการจัดการด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบุคลากร เช่น การจ้างงานการเลิกจ้าง และการดูแลสวัสดิการของบุคลากรให้เป็นไปตามกฎหมายแรงงาน ข้อบังคับ และระเบียบ
- สนับสนุนการดำเนินการธุรกิจวิชาการ : สำนักกฎหมายจะช่วยดูแลด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการธุรกิจวิชาการ เช่น การร่างและตรวจสอบสัญญา การจัดการข้อพิพาท และการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- การบริหารความเสี่ยงทางกฎหมาย : สำนักกฎหมายจะมีบทบาทในการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยและเสนอแนวทางป้องกันและลดความเสี่ยง
- ดำเนินการในการจัดทำข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ตามนโยบายของสภามหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย
3.การดำเนินงานที่สอดคล้องกับสอดรับกับมิติ “The Power of SDU”
- พัฒนา ปรับปรุง ข้อบังคับ และระเบียบต่างๆ ของมหาวิทยาลัยให้ทันสมัย ยืดหยุ่น สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย และเท่าทันสภาพการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยยึดแนวทางธรรมาภิบาล
- พัฒนา ปรับปรุง ข้อบังคับ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดหารายได้ เช่น การให้บริการ วิชาการ การวิจัย การพัฒนานวัตกรรมและการให้เช่าพื้นที่ ให้มีความยืดหยุ่นแต่ยังคงความโปร่งใส
- จัดทำแพลตฟอร์มดิจิทัล สำหรับการให้บริการด้านกฎหมาย เช่น ระบบจัดการสัญญาออนไลน์ระบบยื่นคำร้องเกี่ยวกับกฎหมาย ระบบการให้คำปรึกษาทางกฎหมาย และอัพเดทฐานข้อมูลกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยให้เป็นปัจจุบัน
- จัดอบรมผู้ปฏิบัติงาน ในสำนักกฎหมายให้มีความรู้ด้านกฎหมายเชิงพาณิชย์และเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้มีศักยภาพ สามารถทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาเชิงรุก สำหรับส่วนงาน หน่วยงาน และหน่วยงานอิสระ
- สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านกฎหมายกับสถาบันการศึกษา และหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาค ธุรกิจเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และทรัพยากร
- ทั้งนี้เพื่อให้นโยบาย The Power of SDU เกิดการขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีข้อบังคับระเบียบ และประกาศต่างๆ ของมหาวิทยาลัยที่ได้ออกมาบังคับใช้โดยผ่านกระบวนการพิจารณาที่รวดเร็ว ยึดหลักธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการตามนโยบายของมหาวิทยาลัย
4. ผู้ให้ข้อมูล
ดร.สฤษดิ์ ธัญกิจจานุกิจ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย
โทรศัพท์ 02-2445147
5. การติดต่อ
สำนักกฎหมาย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
295 ถนนนครราชสีมา ดุสิต กทม 10300
เว็บไซต์ https://sdulaw.dusit.ac.th/
โทรศัพท์ 02-244-5144-5147
6. ภาคผนวก
- คำสั่งมหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่ 2174/2567 เรื่อง แต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย
- คำสั่งมหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่ 4408/2567 เรื่อง แต่งตั้งรองผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย
ตามที่มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ต้องปรับตัวและโครงสร้างการบริหารจัดการองค์กรใหม่เพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุทธศาสตร์และการดำเนินงานตามนโยบายและภารกิจของมหาวิทยาลัย กองกฎหมายเป็นหน่วยงานที่สำคัญอย่างหนึ่งของการขยายภารกิจของมหาวิทยาลัย ที่มีความต้องการใช้ผู้มีความรู้ และประสบการณ์ด้านกฎหมายธุรกิจ และกระบวนการทางธุรกิจมากขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจวิชาการเพื่อความเชี่ยวชาญด้านการบริหารสัญญาทางธุรกิจกฎหมายภาษี รวมทั้งกฎหมายการค้าเกี่ยวกับต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องขยายงานทางด้านกฎหมายของกองกฎหมายให้กว้างขวางและครอบคลุมภารกิจมากขึ้น จึงจำเป็นต้องออกประกาศนี้