ฆ่าภริยาหวังเงินประกัน


อาจารย์สรศักดิ์ มั่นศิลป์
อาจารย์ประจำหลักสูตรนิติศาสตร์


ปัจจุบันนี้ประชาชนส่วนใหญ่มีความนิยมในการทำสัญญาประกันชีวิตส่งผลให้ธุรกิจประกันมีการขยายตัวเป็นอย่างมาก มีบริษัทประกันชีวิตเกิดขึ้นอย่างมากมายทั้งที่เป็นของคนไทยและ ต่างชาติ ซึ่งบริษัทประกันต่างๆเหล่านี้อยู่ในความดูแลของหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ) ที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแล ผู้ประกอบธุรกิจประกันโดยตรง และรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนในเรื่องที่เกี่ยวกับการประกันภัย


เหตุผลที่ประชาชนทำสัญญาประกันชีวิตก็เพื่อเป็นหลักประกันในอนาคตให้กับคน ข้างหลังหรือตนเอง ที่จะมีเงินมาใช้จ่ายเมื่อบุคคลที่ทำสัญญาประกันชีวิตหรือบุคคลอันการใช้เงิน ย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะถึงแก่ความตายเช่น สามีทำสัญญาประกันชีวิตของภริยา โดย
ในสัญญาระบุให้สามีเป็นผู้รับประโยชน์ หากภริยาถึงแก่ความตาย เช่นนี้สามีในฐานะผู้รับประโยชน์ย่อมเป็นผู้ได้รับเงินตามสัญญาประกันชีวิต


มีปัญหาว่าหากสามีเจตนาไม่สุจริตหวังอยากได้เงินประกันผลจะเป็นอย่างไร เช่น นาย กสามีได้ทำประกันชีวิตของนาง ข ภริยากับ บริษัท เอ โดยโดยสัญญาระบุให้นาย ก สามีเป็นผู้รับประโยชน์ หากต่อมานาย ก สามี แอบเอายาพิษให้นาง ข กินเช่นนี้ บริษัท เอ ผู้รับประกันภัยไม่ต้อง จ่ายเงินให้กับนาย ก สามี เพราะเป็นข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 895(2) บุคคลผู้นั้นถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนา ดังนั้น บริษัท เอ ผู้รับประกันภัย จึงไม่ต้องจ่ายเงินให้กับ นาย ก ผู้รับประโยชน์ตามเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น